วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เมื่อลดน้ำหนักได้ แต่ทำไมหุ่นไม่เป๊ะ

 
เคยสงสัยกันไหมครับว่าทำไมน้ำหนักเราก็ลงแล้วแต่ทำไมหุ่นเรายังไม่เฟิร์มเลยน้ำหนักก็ลดลงเยอะแล้ว ลองมาดูกันครับว่าทำไมกันหนอ ?
ในขณะที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการ “ลดน้ำหนัก” เป็นเวลาพอสมควร พบว่าน้ำหนักก็ลดลงตามที่ตั้งเป้าไว้ แต่เหมือนว่าทำไม ถึงไม่มีวี่แววที่จะผอมหุ่นดีเลยสักที เท่าที่พบก็เพียงแต่น้ำหนักที่ลดลงพร้อมกับขนาดตัวที่ลดลง แต่ทำไมรายละเอียดกล้ามเนื้อ หรือ โค้งเว้าของร่างกายก็ไม่ปรากฏเสียที
มีความจริงเรื่องหนึ่งที่สวนทางกับความเชื่อต่างๆที่เคยได้รับรู้มาโดยสิ้นเชิง จริงๆแล้ว การลดน้ำหนักนั้น ไม่เท่ากับ ผอมลง เสมอไป
ความเป็นจริงสามารถตอบด้วยเรื่องของ ปริมาณไขมันในร่างกาย ซึ่งการที่จะมีความคมชัดหรือรูปร่างที่ชัด หรือ Lean นั้นขึ้นอยู่กับตัวแปรที่เรียกว่า เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ซึ่งหมายถึงร้อยละของปริมาณไขมันที่มีในร่างกาย “ไม่ได้หมายถึงปริมาณว่ามากหรือน้อย” แต่เทียบเป็นร้อยละว่ามากหรือน้อย เช่น
A มีน้ำหนักตัว 100 กก. โดยที่มีไขมันในร่างกาย 20 กก. และส่วนอื่นๆที่ไม่ใช่ไขมันอีก 80กก.  ซึ่งเมื่อคำนวนแล้ว A มีปริมาณไขมันเป็น 20% ของร่างกาย
B มีน้ำหนักตัว 100 กก. โดยที่มีไขมันในร่างกาย 10 กก. และส่วนอื่นๆที่ไม่ใช่ไขมันอีก 90 กก.  และเมื่อคำนวนแล้ว B มีปริมาณไขมันในร่างกาย เพียง 10% ในร่างกาย
สรุปแล้ว A จะมีปริมาณไขมันเยอะกว่า B ถึง 10กก.  ดังนั้นแล้วแม้ว่าน้ำหนักจะเท่ากัน แต่อย่างไรแล้ว A ย่อมมีรูปร่างที่ดีกว่า B อย่างแน่นอ
จากภาพตัวอย่างนี้ทำให้เราเห็นภาพรวมของเรื่องร้อยละของปริมาณไขมันในร่างกายได้เป็นอย่างดี และต่อไปนี้คือเหตุผลว่าทำไมการที่เรา ลดน้ำหนักได้แล้วแต่ไม่มีวี่แววที่จะผอมลงสักที
 
ดังนั้นวิธีที่ถูกต้องคือ
1.การลดปริมาณไขมันโดยตรง โดยที่ไม่อิงน้ำหนักตัวมากจนเกินไป ทำได้โดยการวัดปริมาณในร่างกายด้วยวิธีง่ายๆ เช่น การใช้คาลิปเปอร์วัดความหนาของชั้นผิวหนังเป็นตัววัดผลว่า เราลดไขมันได้จริงหรือไม่เป็นต้น ถึงแม้น้ำหนักจะลดน้อยกว่า แต่ร่างกายดูดีขึ้นมากกว่าเพราะส่วนที่ลดไปคือไขมันล้วนๆนั่นเอง
2.เพิ่มกล้ามเนื้อ การเพิ่มกล้ามเนื้อเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดในการพัฒนารูปร่างและปรับปรุงรูปร่างให้ ผอมลงอย่างดูดี ไม่เหี่ยวย้วย อีกกรณีหนึ่งที่อาจพบได้ คือ การที่ A มีน้ำหนักตัว 100กก. มีไขมันที่ 20%  หรือ 20กก. โดย A ทำการเพิ่มกล้ามเนื้อในร่างกายอีก 5 กก. และลดไขมันอีก 10 กก. ทำให้น้ำหนักตัวของ A เป็น  85 กก. โดยที่มีไขมันในร่างกายเหลือเพียง 10 กก. เมื่อคิดเป็นร้อยละจะพบว่า  A นั้นมีไขมัน 11.7% และแน่นอน A นั้นดู “ผอมลง ลีนขึ้น” ต่างจากการลดแบบผิดวิธีคือการอดอาหารและเบิร์นอย่างเดียว ที่จะทำให้ %ไขมันเหลือเพียง 17.6%  และนี่คือเหตุผลว่าทำไม การลดน้ำหนัก จึงไม่เท่ากับผอมเสมอไป

Credit: planforfit

เป็นอย่างไรกันครับหวังว่าจะได้ประโยชน์ไปอย่างเต็มที่นะครับ ลดน้ำหนักต้องลดให้ถูกวิธีนะครับเพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์ทุกด้าน แล้วกลับมาพบกันใหม่กับ B-Healthy สุขภายง่ายๆเริ่มต้นที่ตัวเรา สวัสดีครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น