วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

หากหยุดเล่นเวทแล้วจะเกิดอะไรขึ้น?

วันนี้มาพบกับ หากหยุดเล่นเวทแล้วจะเกิดอะไรขึ้น หลายคนคงเคยสงสัยว่าเกี่ยวกับคำถามว่า ถ้าหยุดเล่นเวทแล้วจะเป็นอย่างไร? บางคนบอกว่าจะอ้วน บางคนบอกจะเนื้อย้วยเหี่ยว ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร และ ทฤษฏีอะไรที่สนับสนุนข้อความเหล่านี้บ้าง มาพบกันเลยครับ
หยุดเล่นแล้วทำไมถึงอ้วน? ก่อนจะวิเคราะห์ในจุดสุดท้ายเมื่อหยุดออกกำลังกาย เราต้องวิเคราะห์ถึงการออกกำลังกายเองก่อนว่าส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย เป็นที่ทราบกันดีว่า การออกกำลังกายนั้นที่แน่ๆต้องใช้พลังงาน และ การออกกำลังกายโดยการเวทเทรนนิ่งที่เหมาะสมนั้นสามารถกระตุ้นระบบเผาผลาญไปได้ตลอดวันอีกด้วย ณ.จุดนี้ที่เราสามารถบอกได้ชัดเจนคือ การออกกำลังกายทำให้ร่างกายใช้พลังงานในแต่ละวันมากขึ้น สมมติตัวเลขจากพลังงานของคนทั่วไปที่ 2,000 calories การออกกำลังกายนั้นอาจทำให้ร่างกายเผาผลาญได้มากขึ้นถึง 2,500 – 3,000 calories ต่อวันเลยทีเดียว และเมื่อร่างกายต้องการพลังงานที่มากขึ้นนั้นเราก็จะต้องรับประทานอาหารที่มากขึ้นด้วย เป็นไปตามกลไกการทำงานของระบบร่างกายที่ส่งสัญญาณความหิว หรือ ความต้องการอาหารให้ร่างกายนั้นต้องหาอาหารเพื่อรับประทาน ดังนั้นในขณะเดียวกัน กอปรกับพื้นฐานในการออกกำลังกายด้วยเวทเทรนนิ่ง เราเรียนรู้ที่จะสร้างพฤติกรรมการทานอาหารหลายมื้อไปพร้อมๆกัน แม้จะเป็นกรณีที่ผู้ฝึกต้องการควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกายนั้นมีหลักฐานในการที่ผู้ที่ออกกำลังกาย “สามารถทานอาหารได้มากกว่าเก่า” ก่อนที่จะทำให้ “อ้วน” หรือ “เพิ่มน้ำหนัก” ด้วยปัจจัยตรงนี้เมื่อถึงวันที่ผู้ที่ออกกำลังกาย หยุดกิจกรรมการออกกำลังกายไปในทันที หมายถึง ในแต่ละวันผู้ฝึกนั้นๆจะสูญเสียดุลในการเผาผลาญไป (ตัวเลขสมมติต่อจากข้างต้น) 500 – 1000calories ทันที แต่สิ่งที่มักจะพบได้เป็นปกติคือ “พฤติกรรมการรับประทานอาหาร” ที่ยังคงอยู่ในปริมาณมาก เพราะร่างกายเคยชินกับการรับพลังงานที่ระดับเดิม 2,500 – 3,000 calories โดยที่ระบบเหล่านี้ไม่สามารถเปลี่ยนได้ในรายวันเสมือนการ “หยุดออกกำลังกาย” สิ่งที่เกิดขึ้นอันดับแรกคือ ผู้ที่หยุดออกกำลังกายนี้มีพลังงานส่วนเกินเพิ่มมาตามตัวเลขสมมติที่ 500 – 1000calories ต่อวัน ส่งผลให้เมื่อเวลาผ่านไป ทำให้ผู้ฝึก เพิ่มน้ำหนักตัว และ ไขมัน หลังจากที่หยุดออกกำลังกายนั่นเอง
วิธีปฏิบัติหากจำเป็นต้องหยุดออกกำลังกายในกรณีที่เป็นผู้ที่มีรูปร่างอ้วนง่าย
- ลดปริมาณอาหารที่รับประทานต่อวันลงให้เท่ากับก่อนออกกำลังกาย เช่น 3มื้อหลัก หรือ ประมาณ 2000 calories ต่อวัน เป็นเวลาล่วงหน้าอย่างน้อย 2-4สัปดาห์ก่อนที่คาดว่าจะหยุดออกกำลังกาย
- หลังจากนั้นค่อยๆลดการออกกำลังกายลง จนถึงจุดที่หยุดออกกำลังกายตามความจำเป็น
******ข้อสังเกตุร่างกายสะสมไขมันเพิ่มในขณะที่ร่างกายได้รับพลังงานเกินไม่ใช่การที่ “กล้ามเนื้อเปลี่ยนเป็นไขมัน” เมื่อหยุด******
หยุดเล่นแล้วผอม??? ในขณะที่ผู้ฝึกส่วนใหญ่ประสบปัญหาการเพิ่มน้ำหนักและไขมันเมื่อหยุดออกกำลังกาย ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่อาจประสบกับปัญหาน้ำหนักลด ปริมาณกล้ามเนื้อลดลง เนื่องจากพื้นฐานของร่างกายและพฤติกรรมกลุ่มนี้คือ เป็นผู้ที่ระบบเผาผลาญสูง ร่างกายเพิ่มน้ำหนักยาก กินอาหารยาก ไม่มีความอยากอาหาร ซึ่งผู้ฝึกเหล่านี้สร้างกล้ามเนื้อโดยการฝึก และ การควบคุมโภชนการให้ร่างกายได้รับพลังงานที่ต้องการในปริมาณมากพอ โดยการ “พยายามกิน” เพื่อให้กล้ามขึ้น และเมื่อผู้ฝึกหยุดออกกำลังกาย กล้ามเนื้อที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นก็ลดปริมาณลงเนื่องจากไม่มีการกระตุ้น กอปรกับระบบเผาผลาญของร่างกายที่สูงโดยพื้นฐาน และ พฤติกรรมการไม่กินอาหารอย่างเพียงพอ ทำให้ร่างกายไม่สามรถรักษากล้ามเนื้อนั้นๆได้ ร่างกายจึงกลับมาสู่รูปร่าง ผอมเหมือนเดิม ซึ่งในกรณีนี้มักไม่พบปัญหาสุขภาพเหมือนกับกรณีแรกที่ร่างกายสะสมไขมันมากขึ้นนั่นเอง และเช่นกันผู้ฝึกที่ร่างกายเผาผลาญมากในตอนก่อนออกกำลังกาย ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดกรณีในข้างต้นคือ เป็นคนผอมมากออกกำลังกายแล้วหยุดฝึกกลายเป็นคนอ้วนง่าย เนื่องจากพฤติกรรมที่กล่าวมานั่นเองไม่ได้เกิดจากการที่ “กล้ามเนื้อเปลี่ยนเป็นไขมัน” แต่อย่างใด

ข้อสรุป จะเกิดอะไรเมื่อหยุดออกกำลังกาย
- ระบบเผาผลาญร่างกายลดลง
- ร่างกายต้องการพลังงานน้อยลง
- ร่างกายจะค่อยๆลดปริมาณกล้ามเนื้อลงจนถึงระดับที่สมดุล กล้ามเนื้อที่ขนาดใหญ่โตก็ลดขนาดลงโดยไม่มีปัญหาเรื่องความเหี่ยวย่นแต่อย่างไร เพราะกล้ามเนื้อและผิวหนังนั้นยืดหยุ่นตามธรรมชาติ
- ร่างกายจะค่อยๆกลับไปสู่ระบบพื้นฐานของร่างกายเดิมเช่น อ้วน หรือ ผอม

แปลว่าถ้าออกกำลังกายแล้วไม่สามารถ “หยุด” ได้ใช่หรือไม่ ?
มาถึงจุดนี้หลายคนคงจะเริ่มรู้สึกกังวลเกียวกับผลลัพธ์ในการออกกำลังกาย และ พันธะผูกพันที่เหมือนกับว่าต้องออกกำลังกายไปตลอดชีวิต หลักฐานทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นยืนยันว่า การออกกำลังกายด้วยการเวท เทรนนิ่งนั้นส่งผลดีต่อผู้ฝึกทุกระดับ ไม่ว่าจะในวัยกลางคน หรือ เพศหญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งยังสามารถได้รับผลดีในการรักษามวลกระดูกจากการออกกำลังกายด้วย
- ณ.จุดหนึ่งของการออกกำลังกาย เราใช้ความพยายามสูงขึ้น และ สูงขึ้นเพื่อให้พัฒนาไปถึงเป้าหมาย
- เมื่อถึงเป้าหมาย หรือ รูปร่างทีต้องการแล้ว ลักษณะการฝึกก็จะเป็นเพียงการฝึกเพื่อ คงสภาพ หรือ ในอีกนัยสำคัญคือ ใช้ความพยายามเท่าๆเดิมก็เพียงพอแล้ว ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องออกกำลังกายอย่างทุ่มเทจนสุดความสามารถตลอดชีวิต

Credit:planforfit

เป็นอย่างไรครับ ก็ใครที่เล่นเวทอยู่ก็ต้อง ออกกำลังกายนิดหน่อยนะครับ อย่าหยุดไปเลยเดียวมันจะคืนสภาพ นะครับ สู้ๆนะครับ แล้วกลับมาพบกับ  B-Healthy สุขภายง่ายๆเริ่มต้นที่ตัวเรา สวัสดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น